วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

หลักม.๙๐-๙๑ มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา

มาตรา 90  เมื่อมีการฟ้องคดีต่อศาลว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษ อย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินยี่สิบปี ไม่ว่าจะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม ถ้าปรากฏว่าเด็กหรือเยาวชนไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำ คุกมาก่อน เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ก่อนมีคำพิพากษา หากเด็กหรือเยาวชนสำนึกในการกระทำและผู้เสียหายยินยอมและโจทก์ไม่คัดค้าน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าพฤติการณ์แห่งคดีไม่เป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมเกิน สมควร และศาลเห็นว่าเด็กหรือเยาวชนอาจกลับตนเป็นคนดีได้ และผู้เสียหายอาจได้รับการชดเชยเยียวยาตามสมควรหากนำวิธีจัดทำแผนแก้ไขบำบัด ฟื้นฟู ซึ่งเป็นประโยชน์ต่ออนาคตของเด็กหรือเยาวชนและต่อผู้เสียหายมากกว่าการ พิจารณาพิพากษา ให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้อำนวยการสถานพินิจหรือบุคคลที่ศาลเห็นสมควรจัดให้มีการ ดำเนินการเพื่อจัดทำแผนดังกล่าว โดยมีเงื่อนไขให้เด็กหรือเยาวชน บิดา มารดา ผู้ปกครอง บุคคลหรือองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วยปฏิบัติ แล้วเสนอต่อศาลเพื่อพิจารณาภายในสามสิบวันนับแต่ที่ศาลมีคำสั่ง หากศาลเห็นชอบด้วยกับแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูให้ดำเนินการตามนั้นและให้มีคำสั่ง จำหน่ายคดีไว้ชั่วคราว หากศาลไม่เห็นชอบ ให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป

                มาตรา 91  การประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูตามมาตรา 90 ให้ผู้อำนวยการสถานพินิจ หรือบุคคลที่ศาลเห็นสมควรเป็นผู้ประสานการประชุม โดยให้มีผู้เข้าร่วมประชุมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 87  ทั้งนี้ พนักงานอัยการจะเข้าร่วมประชุมด้วยก็ได้
                หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูตามมาตรา 90 ให้เป็นไปตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกา

                มาตรา 92  ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูที่ศาลเห็นชอบฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามหรือมีเหตุจำเป็นต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู นั้น ให้ผู้อำนวยการสถานพินิจหรือบุคคลที่ศาลสั่ง

หลักเกณฑ์

๑.คดีอาญาซึ่งมีโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินยี่สิบปี
๒.เด็กหรือเยาวชนไม่เคยได้รับโทษจำคุก โดนคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้น ประมาทหรือลหุโทษ
๓.หากเด็กหรืเยาวชนสำนึกในการกระทำและผู้เสียหายยินยอม
๔.โจทก์ไม่คัดค้าน
๕.ข้อเท็จจริงปรากฏว่าพฤติการณ์แห่งคดีไม่เป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมเกินสมควร
๖.ศาลเห็นว่าเด็กหรือเยาวชนอาจกลับตัวเป็นคนดีได้
๗.ผู้เสียหายอาจได้รับการชดเชยเยียวยาตามสมควร
๘. หากทำวิธีจัดทำแผนแก้ไขเยาวชนอาจกลับตัวเป็นคนดีได้
๙.ให้ศาลมีคำสั่งให้ผุ้อำนวยการสถานพินิจ หรือบุคคลที่ศาลเห็นสมควรจัดให้มีการดำเนินการเพื่อจัดทำแผนดังกล่าว โดยมีเงื่อนไข ให้เด็กหรือเยาวชน บิดา มารดา ผู้ปกครอง บุคคลหรือองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วยปฏิบัติ
เสนอต่อศาลภายใน ๙๐ วัน
หากศาลเห็นชอบให้จำหน่ายคดีไว้ชั่วคราว   แล้วดำเนินการตามแผนฟื้นฟู เมื่อครบถ้วนให้ศาลสั่งจำหน่ายคดีและให้สิทธินำคดีมาฟ้องเป็นอันระงับ
หากไม่เห็นชอบก็ให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น