วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ม.๑๐

มาตรา 10  ศาลเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดี ดังต่อไปนี้
                (1)
[1]คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด
                (2)
คดีอาญาที่ศาลซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาได้โอนมาตามมาตรา 97 วรรคหนึ่ง
                (3)
[2]คดีครอบครัว
                (4)
คดีคุ้มครองสวัสดิภาพ
                (5)
คดีอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลเยาวชนและครอบครัว






[1] หลักมิได้จำกัดประเภทของคดีและไม่ได้กำหนดอัตราโทษไว้  จึงมีอำนาจพิจารณาคดีถึงประหารชีวิต
[2] คดีครอบครัวได้แก่ คดีแพ่งที่ยื่นฟ้องหรือร้องต่อศาล หรือกระทำการใด ๆ ในทางศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์หรือ ครอบครัว แล้วแต่กรณีซึ่งต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์  หมายความว่า คดีเกี่ยวด้วยการสมรส รวมทั้งสิทธิและหน้าที่กันตาม ป.พ.พ. บรรพ ๕ ทั้งหมด รวมทั้งคดีที่เกี่ยวด้วยสถานะและความสามารถของบุคคล อันเกี่ยวกับครอบครัว หรือส่วนได้เสียของผู้เยาว์ที่พิพาทกันตาม ป.พ.พ.บรรพ ๑ มาตรา ๒๑ถึง ๒๘ ,๓๒ ,๔๓ และ๔๔ และในบรรพ ๖ มาตรา ๑๖๑๐ ,๑๖๑๑ ,๑๖๘๗ และ ๑๖๙๒ ย่อมเป็นคดีเยาว์ชนทั้งสิ้น ๒๐/๔๒  เช่น คดีบิดามารดาฟ้องอีกฝ่ายเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรขณะยังเป็นผู้เยาว์ , มารดาฟ้องเรียกให้สามีคืนบุตรอ้างว่าตกลงกันเองให้บุตรผู้เยาว์อยู่ในความดูแลของตนแต่เพียงผู้เดียว   
คดีที่ถือว่าเป็นคดีครอบครัวได้แก่ 
๑.คดีเกี่ยวกับการสมรส เช่น เรียกค่าสินสอดคืน หรือฟ้องเลิกสัญญาหมั้นและเรียกให้รับผิดค่าทดแทน  
๒.คดีที่ฟ้องขอให้การสมรสเป็นโมฆะ 
๓.คดีที่ฟ้องขอให้บังคับถึงความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา 
๔.คดีที่สามีภริยาฟ้องอีกฝ่ายได้กระทำนิติกรรมลงไปโดยไม่ได้รับความยินยอม 
๕.คดีที่ฟ้องว่าการหย่าไม่มีผลสมบูรณ์ 
๖.คดีที่สามีหรือภริยาฟ้องอีกฝ่ายตามบันทึกหลังทะเบียนหย่า(เพราะเป็นข้อตกลงเกี่ยวเนื่องกับความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในทางทรัพย์สิน แม้จะเป็นสัญญาที่ทำขึ้นภายหลังโจทก์จำเลยหย่าขาดต่อกัน แต่สัญญาดังกล่าวก็อ้างถึงใบสำคัญการหย่าระหว่างสามีภริยาที่ต้องบังคับตามม.๑๕๒๖ประกอบ ๑๕๘๙/๓๙ 
๗.คดีฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อผู้ที่จดทะเบียนว่าเป็นผู้เยาว์ ม.๑๕๕๕ หรือคดีฟ้องไม่รับบุตร 
๘.คดีฟ้องเรียกค่าทดแทนจากชายชู้(อันเป็นการฟ้องค่าทดแทนตามม.๑๕๒๓ ซึ่งบัญญัติไว้ในบรรพ ๕ โดยเฉพาะเป็นคดีกระทบต่อสิทธิหน้าที่หรือความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา มิใช่คดีละเมิดธรรมดา) 
๙.คดีที่คู่สมรสตายแล้วทายาทฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินกัน หากมีปัญหาเกี่ยวกับการแข่งสินสมรสของผู้ที่ตาย ม.๑๖๒๕ บัญญัติให้นำมา.๑๕๓๒ มาใช้โดยอนุโลม)   ,  
กรณีเป็นคดีเกี่ยวกับสถานะและความสามารถของบุคคลอันเกี่ยวกับครอบครัวหรือส่วนได้เสียของผู้เยาว์ซึ่งพิพาทกันตาม ปพพ.บรรพ ๑ มาตรา ๒๑ ถึง ๒๘ ๓๒ ๔๓ และ๔๔ และในบรรพ ๖ ม.๑๖๑๐ ๑๖๖๑๑ ๑๖๘๗ ๑๖๙๒ ได้แก่ 
๑.คดีขอทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ 
๒.คดีขอตั้งผู้อนุบาล (หากศาลมีคำสั่งตามคำร้องเป็นผลกระทบสิทธิและหน้าที่ตลอดจนสถานะและความสามารถของบุคคลในครอบครัวอันต้องบังคับตาม ม.๒๘ ทั้งสิทธิหน้าที่ของผู้ร้องต้องเป็นไปตามม.๑๕๙๘/๑๘)
๓.คดีที่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันร้องขอให้มีคำสั่งว่าเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและตั้งตนเป็นผู้พิทักษ์ (เป็นกรณีที่ต้องบังคับตามม.๓๒ และม.๑๕๙๘/๑ วรรคสอง หากศาลมีคำสั่งย่อมมีผลกระทบต่อสิทธิและหน้าที่ตลอดจนสถานะและความสามารถของบุคคลในครอบครัว)  
กรณีไม่ใช่คดีครอบครัว 
๑.คดีที่ชายหรือหญิงมิได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย ฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินระหว่างกันตามกฎหมายฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินระหว่างกัน  (มิใช่เกี่ยวด้วยการสมรส สินสมรส หรือความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา บิดามารดาและบุตร ตามบรรพ ๕) ๒.คดีครอบครับระหว่างอิสลามศาสนิกชนเป็นคู่ความทั้งสองฝ่ายใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งต้องบังคับตามกฎหมายว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับแทน ป.พ.พ. ตามพรบ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และ สตูล๒๔๘๙ ม.๔ 
๓.คดีที่ฟ้องผู้เยาว์ขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมหรือส่วนตัว ๔.คดีร้องขอให้เป็นบุคคลสาบสูญตามป.พ.พ. มาตรา ๖๑-๖๔ หรือขอให้ตั้งผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ 
๕.คดีละเมิดที่ผู้เยาว์กระทำละเมิดซึ่งบิดามารดาต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิด ตามป.พ.พ มาตรา ๔๒๙ (บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวด้วนสิทธิในครอบครัวของผู้เยาว์ หรือครอบครัว) หรือการเรียกค่าขาดไร้อุปการะมาตรา ๔๔๓ ก็ไม่ใช่คดีครอบครัว ๖.คดีฟ้องขับไล่เพราะเหตุประพฤติเนรคุณไม่เป็นคดีครอบครัว 
๗.คดีที่ผู้เยาว์ร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก (คำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกเพียงแต่มีสิทธิหน้าที่ที่จะกระทำการอันจำเป็นเพื่อให้การเป็นไปตามพินัยกรรม และจัดการมรดกโดยทั่วไป หรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก ตาม ๑๗๑๙ เท่านั้น ไม่เกี่ยวด้วยสิทธิหน้าที่ในครอบครัวของผู้เยาว์โดยตรง 
๘.เมียใหม่ที่จดทะเบียนโดยชอบฟ้องเมียเก่าที่หย่ากันแล้วว่าฝ่าฝืนการใช้นามสกุลของสามีทำให้เมียใหม่ได้รับความเสียหาย  หลักสำคัญ ความแตกต่างระหว่างคำว่าคดีครอบครัวกับคดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัว (ตามหลักไม่ต้องห้ามอุทธรณ์)  ต่างกันตรงที่ คดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัวเกิดเมื่อมีความสัมพันธ์ในทางครอบครัวระหว่างสามีภริยา หรือบิดามารดากับบุตร (ดังนั้นไม่รวมการหมั้นอันเป็นขั้นตอนก่อนการเป็นครอบครัว) และ ฟ้องให้จำเลยชำระค่าเลี้ยงดูตามสัญญาที่โจทก์ทำไว้กับจำเลย เป็นคดีครอบครัวแต่ไม่เป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น