วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ม.๑๓,๑๔

มาตรา 13  ในระหว่างการพิจารณาของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวแม้จำเลยจะ มีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์สำหรับคดีอาญา หรือผู้เยาว์จะมีอายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์หรือบรรลุนิติภาวะแล้วด้วยการสมรส สำหรับคดีครอบครัว ให้ศาลนั้นคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไปจนเสร็จสำนวน และถ้าจะมีอุทธรณ์หรือฎีกาก็ให้เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบ ครัว หรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว หรือศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ที่จะพิจารณาพิพากษาต่อไป และให้ศาลดังกล่าวคงมีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามที่บัญญัติไว้ ในพระราชบัญญัตินี้

                มาตรา 14  ในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่าข้อเท็จจริงเรื่องอายุหรือการบรรลุนิติภาวะด้วย การสมรสของบุคคลที่เกี่ยวข้องผิดไป หรือศาลอื่นใดได้รับพิจารณาพิพากษาคดีโดย[1]ไม่ต้องด้วยมาตรา 12 ซึ่งถ้าปรากฏเสียแต่ต้นจะเป็นเหตุให้ศาลดังกล่าวไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา ข้อบกพร่องดังกล่าวไม่ทำให้การดำเนินการในชั้นสอบสวนและการพิจารณาพิพากษา ของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาและศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบ ครัวเสียไป
                ถ้าข้อเท็จจริงตามวรรคหนึ่งปรากฏขึ้นในระหว่างการพิจารณา ไม่ว่าในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ให้[2]ศาลนั้น ๆ [3]โอนคดีไปยังศาลที่มีอำนาจเพื่อพิจารณาพิพากษาต่อไป






[1] ม.๑๒ กรณีที่ศาลเยาวชน เปิดทำการแล้ว ต้องห้ามศาลอื่นรับคดีไว้พิจารณา
[2] ศาล หมายถึง ผู้พิพากษา
[3] ต้องโอนคดี  ดังนั้นหากความปรากฏในศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นจะพิจาณายกฟ้องเพื่อให้โจทก์ไปฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีไม่ได้ ๔๕๗๘/๓๙

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น