วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

หลักม.๙๐-๙๑ มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา

มาตรา 90  เมื่อมีการฟ้องคดีต่อศาลว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษ อย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินยี่สิบปี ไม่ว่าจะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม ถ้าปรากฏว่าเด็กหรือเยาวชนไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำ คุกมาก่อน เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ก่อนมีคำพิพากษา หากเด็กหรือเยาวชนสำนึกในการกระทำและผู้เสียหายยินยอมและโจทก์ไม่คัดค้าน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าพฤติการณ์แห่งคดีไม่เป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมเกิน สมควร และศาลเห็นว่าเด็กหรือเยาวชนอาจกลับตนเป็นคนดีได้ และผู้เสียหายอาจได้รับการชดเชยเยียวยาตามสมควรหากนำวิธีจัดทำแผนแก้ไขบำบัด ฟื้นฟู ซึ่งเป็นประโยชน์ต่ออนาคตของเด็กหรือเยาวชนและต่อผู้เสียหายมากกว่าการ พิจารณาพิพากษา ให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้อำนวยการสถานพินิจหรือบุคคลที่ศาลเห็นสมควรจัดให้มีการ ดำเนินการเพื่อจัดทำแผนดังกล่าว โดยมีเงื่อนไขให้เด็กหรือเยาวชน บิดา มารดา ผู้ปกครอง บุคคลหรือองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วยปฏิบัติ แล้วเสนอต่อศาลเพื่อพิจารณาภายในสามสิบวันนับแต่ที่ศาลมีคำสั่ง หากศาลเห็นชอบด้วยกับแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูให้ดำเนินการตามนั้นและให้มีคำสั่ง จำหน่ายคดีไว้ชั่วคราว หากศาลไม่เห็นชอบ ให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป

                มาตรา 91  การประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูตามมาตรา 90 ให้ผู้อำนวยการสถานพินิจ หรือบุคคลที่ศาลเห็นสมควรเป็นผู้ประสานการประชุม โดยให้มีผู้เข้าร่วมประชุมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 87  ทั้งนี้ พนักงานอัยการจะเข้าร่วมประชุมด้วยก็ได้
                หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูตามมาตรา 90 ให้เป็นไปตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกา

                มาตรา 92  ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูที่ศาลเห็นชอบฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามหรือมีเหตุจำเป็นต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู นั้น ให้ผู้อำนวยการสถานพินิจหรือบุคคลที่ศาลสั่ง

หลักเกณฑ์

๑.คดีอาญาซึ่งมีโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินยี่สิบปี
๒.เด็กหรือเยาวชนไม่เคยได้รับโทษจำคุก โดนคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้น ประมาทหรือลหุโทษ
๓.หากเด็กหรืเยาวชนสำนึกในการกระทำและผู้เสียหายยินยอม
๔.โจทก์ไม่คัดค้าน
๕.ข้อเท็จจริงปรากฏว่าพฤติการณ์แห่งคดีไม่เป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมเกินสมควร
๖.ศาลเห็นว่าเด็กหรือเยาวชนอาจกลับตัวเป็นคนดีได้
๗.ผู้เสียหายอาจได้รับการชดเชยเยียวยาตามสมควร
๘. หากทำวิธีจัดทำแผนแก้ไขเยาวชนอาจกลับตัวเป็นคนดีได้
๙.ให้ศาลมีคำสั่งให้ผุ้อำนวยการสถานพินิจ หรือบุคคลที่ศาลเห็นสมควรจัดให้มีการดำเนินการเพื่อจัดทำแผนดังกล่าว โดยมีเงื่อนไข ให้เด็กหรือเยาวชน บิดา มารดา ผู้ปกครอง บุคคลหรือองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วยปฏิบัติ
เสนอต่อศาลภายใน ๙๐ วัน
หากศาลเห็นชอบให้จำหน่ายคดีไว้ชั่วคราว   แล้วดำเนินการตามแผนฟื้นฟู เมื่อครบถ้วนให้ศาลสั่งจำหน่ายคดีและให้สิทธินำคดีมาฟ้องเป็นอันระงับ
หากไม่เห็นชอบก็ให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป

ม.๑๓,๑๔

มาตรา 13  ในระหว่างการพิจารณาของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวแม้จำเลยจะ มีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์สำหรับคดีอาญา หรือผู้เยาว์จะมีอายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์หรือบรรลุนิติภาวะแล้วด้วยการสมรส สำหรับคดีครอบครัว ให้ศาลนั้นคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไปจนเสร็จสำนวน และถ้าจะมีอุทธรณ์หรือฎีกาก็ให้เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบ ครัว หรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว หรือศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ที่จะพิจารณาพิพากษาต่อไป และให้ศาลดังกล่าวคงมีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามที่บัญญัติไว้ ในพระราชบัญญัตินี้

                มาตรา 14  ในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่าข้อเท็จจริงเรื่องอายุหรือการบรรลุนิติภาวะด้วย การสมรสของบุคคลที่เกี่ยวข้องผิดไป หรือศาลอื่นใดได้รับพิจารณาพิพากษาคดีโดย[1]ไม่ต้องด้วยมาตรา 12 ซึ่งถ้าปรากฏเสียแต่ต้นจะเป็นเหตุให้ศาลดังกล่าวไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา ข้อบกพร่องดังกล่าวไม่ทำให้การดำเนินการในชั้นสอบสวนและการพิจารณาพิพากษา ของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาและศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบ ครัวเสียไป
                ถ้าข้อเท็จจริงตามวรรคหนึ่งปรากฏขึ้นในระหว่างการพิจารณา ไม่ว่าในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ให้[2]ศาลนั้น ๆ [3]โอนคดีไปยังศาลที่มีอำนาจเพื่อพิจารณาพิพากษาต่อไป






[1] ม.๑๒ กรณีที่ศาลเยาวชน เปิดทำการแล้ว ต้องห้ามศาลอื่นรับคดีไว้พิจารณา
[2] ศาล หมายถึง ผู้พิพากษา
[3] ต้องโอนคดี  ดังนั้นหากความปรากฏในศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นจะพิจาณายกฟ้องเพื่อให้โจทก์ไปฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีไม่ได้ ๔๕๗๘/๓๙

ม.๑๒

มาตรา 12  ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ว่าด้วยการโอนคดีในท้องที่ที่ศาล เยาวชนและครอบครัวเปิดทำการแล้ว [1]ห้ามมิให้ศาลชั้นต้นอื่นใดในท้องที่นั้นรับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและ ครอบครัวไว้พิจารณาพิพากษา





[1] ห้ามเฉพาะคดีที่จะฟ้องใหม่เมื่อเริ่มเปิดทำการศาลเยาวชนและครอบครัวในท้องที่นั้น ๆ แล้วเท่านั้น  ส่วนคดีอื่นที่ฟ้องต่อศาลอื่นตามเขตอำนาจเดิมไว้แล้วค้างพิจารณาอยู่ไม่ได้ดำเนินการโอนคดีไปยังศาลเยาวชนที่เปิดทำการใหม่ ศาลที่รับไว้ยังมีอำนาจพิจารณา ๑๑๔๖/๔๓

ม.๑๑

มาตรา 11  ในกรณี[1]มีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัว หรือศาลยุติธรรมอื่น ไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่น [2]ให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด คำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาให้เป็นที่สุด
                การขอให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดตามวรรคหนึ่ง คู่ความจะต้องร้องขอก่อนวันสืบพยานแต่ในกรณีที่ศาลเห็นสมควรให้กระทำได้ก่อน มีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลนั้นรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว
คำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกา ไม่มีผลกระทบต่อกระบวนพิจารณาของศาลที่ได้ดำเนินการไปแล้ว






[1] คำว่า มีปัญหา  คือ เมื่อมีการโต้แย้งว่าโจทก์ฟ้องประเด็นดังกล่าวไม่อยู่ในอำนาจศาลทั่วไปแต่เป็นอำนาจศาลครอบครัวหรือโต้แย้งว่าไม่อยู่ในอำนาจของศาลครอบครัวแต่อยู่อำนาจศาลทั่วไป  แต่จะโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาไม่ได้ และประธานศาลฎีกาจะวินิจฉัยตามมาตรา ๑๒ ไม่ได้เพราะล่วงเลยเวลาที่จะยกขึ้นอ้าง แม้ส่งมาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย ๕/๔๔
[2] เป็นอำนาจประธานศาลฎีกา  ศาลชั้นต้นหรือศาลฎีกาไม่มีอำนาจวินิจฉัย   

ม.๑๐

มาตรา 10  ศาลเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดี ดังต่อไปนี้
                (1)
[1]คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด
                (2)
คดีอาญาที่ศาลซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาได้โอนมาตามมาตรา 97 วรรคหนึ่ง
                (3)
[2]คดีครอบครัว
                (4)
คดีคุ้มครองสวัสดิภาพ
                (5)
คดีอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลเยาวชนและครอบครัว






[1] หลักมิได้จำกัดประเภทของคดีและไม่ได้กำหนดอัตราโทษไว้  จึงมีอำนาจพิจารณาคดีถึงประหารชีวิต
[2] คดีครอบครัวได้แก่ คดีแพ่งที่ยื่นฟ้องหรือร้องต่อศาล หรือกระทำการใด ๆ ในทางศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์หรือ ครอบครัว แล้วแต่กรณีซึ่งต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์  หมายความว่า คดีเกี่ยวด้วยการสมรส รวมทั้งสิทธิและหน้าที่กันตาม ป.พ.พ. บรรพ ๕ ทั้งหมด รวมทั้งคดีที่เกี่ยวด้วยสถานะและความสามารถของบุคคล อันเกี่ยวกับครอบครัว หรือส่วนได้เสียของผู้เยาว์ที่พิพาทกันตาม ป.พ.พ.บรรพ ๑ มาตรา ๒๑ถึง ๒๘ ,๓๒ ,๔๓ และ๔๔ และในบรรพ ๖ มาตรา ๑๖๑๐ ,๑๖๑๑ ,๑๖๘๗ และ ๑๖๙๒ ย่อมเป็นคดีเยาว์ชนทั้งสิ้น ๒๐/๔๒  เช่น คดีบิดามารดาฟ้องอีกฝ่ายเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรขณะยังเป็นผู้เยาว์ , มารดาฟ้องเรียกให้สามีคืนบุตรอ้างว่าตกลงกันเองให้บุตรผู้เยาว์อยู่ในความดูแลของตนแต่เพียงผู้เดียว   
คดีที่ถือว่าเป็นคดีครอบครัวได้แก่ 
๑.คดีเกี่ยวกับการสมรส เช่น เรียกค่าสินสอดคืน หรือฟ้องเลิกสัญญาหมั้นและเรียกให้รับผิดค่าทดแทน  
๒.คดีที่ฟ้องขอให้การสมรสเป็นโมฆะ 
๓.คดีที่ฟ้องขอให้บังคับถึงความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา 
๔.คดีที่สามีภริยาฟ้องอีกฝ่ายได้กระทำนิติกรรมลงไปโดยไม่ได้รับความยินยอม 
๕.คดีที่ฟ้องว่าการหย่าไม่มีผลสมบูรณ์ 
๖.คดีที่สามีหรือภริยาฟ้องอีกฝ่ายตามบันทึกหลังทะเบียนหย่า(เพราะเป็นข้อตกลงเกี่ยวเนื่องกับความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในทางทรัพย์สิน แม้จะเป็นสัญญาที่ทำขึ้นภายหลังโจทก์จำเลยหย่าขาดต่อกัน แต่สัญญาดังกล่าวก็อ้างถึงใบสำคัญการหย่าระหว่างสามีภริยาที่ต้องบังคับตามม.๑๕๒๖ประกอบ ๑๕๘๙/๓๙ 
๗.คดีฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อผู้ที่จดทะเบียนว่าเป็นผู้เยาว์ ม.๑๕๕๕ หรือคดีฟ้องไม่รับบุตร 
๘.คดีฟ้องเรียกค่าทดแทนจากชายชู้(อันเป็นการฟ้องค่าทดแทนตามม.๑๕๒๓ ซึ่งบัญญัติไว้ในบรรพ ๕ โดยเฉพาะเป็นคดีกระทบต่อสิทธิหน้าที่หรือความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา มิใช่คดีละเมิดธรรมดา) 
๙.คดีที่คู่สมรสตายแล้วทายาทฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินกัน หากมีปัญหาเกี่ยวกับการแข่งสินสมรสของผู้ที่ตาย ม.๑๖๒๕ บัญญัติให้นำมา.๑๕๓๒ มาใช้โดยอนุโลม)   ,  
กรณีเป็นคดีเกี่ยวกับสถานะและความสามารถของบุคคลอันเกี่ยวกับครอบครัวหรือส่วนได้เสียของผู้เยาว์ซึ่งพิพาทกันตาม ปพพ.บรรพ ๑ มาตรา ๒๑ ถึง ๒๘ ๓๒ ๔๓ และ๔๔ และในบรรพ ๖ ม.๑๖๑๐ ๑๖๖๑๑ ๑๖๘๗ ๑๖๙๒ ได้แก่ 
๑.คดีขอทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ 
๒.คดีขอตั้งผู้อนุบาล (หากศาลมีคำสั่งตามคำร้องเป็นผลกระทบสิทธิและหน้าที่ตลอดจนสถานะและความสามารถของบุคคลในครอบครัวอันต้องบังคับตาม ม.๒๘ ทั้งสิทธิหน้าที่ของผู้ร้องต้องเป็นไปตามม.๑๕๙๘/๑๘)
๓.คดีที่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันร้องขอให้มีคำสั่งว่าเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและตั้งตนเป็นผู้พิทักษ์ (เป็นกรณีที่ต้องบังคับตามม.๓๒ และม.๑๕๙๘/๑ วรรคสอง หากศาลมีคำสั่งย่อมมีผลกระทบต่อสิทธิและหน้าที่ตลอดจนสถานะและความสามารถของบุคคลในครอบครัว)  
กรณีไม่ใช่คดีครอบครัว 
๑.คดีที่ชายหรือหญิงมิได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย ฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินระหว่างกันตามกฎหมายฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินระหว่างกัน  (มิใช่เกี่ยวด้วยการสมรส สินสมรส หรือความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา บิดามารดาและบุตร ตามบรรพ ๕) ๒.คดีครอบครับระหว่างอิสลามศาสนิกชนเป็นคู่ความทั้งสองฝ่ายใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งต้องบังคับตามกฎหมายว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับแทน ป.พ.พ. ตามพรบ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และ สตูล๒๔๘๙ ม.๔ 
๓.คดีที่ฟ้องผู้เยาว์ขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมหรือส่วนตัว ๔.คดีร้องขอให้เป็นบุคคลสาบสูญตามป.พ.พ. มาตรา ๖๑-๖๔ หรือขอให้ตั้งผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ 
๕.คดีละเมิดที่ผู้เยาว์กระทำละเมิดซึ่งบิดามารดาต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิด ตามป.พ.พ มาตรา ๔๒๙ (บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวด้วนสิทธิในครอบครัวของผู้เยาว์ หรือครอบครัว) หรือการเรียกค่าขาดไร้อุปการะมาตรา ๔๔๓ ก็ไม่ใช่คดีครอบครัว ๖.คดีฟ้องขับไล่เพราะเหตุประพฤติเนรคุณไม่เป็นคดีครอบครัว 
๗.คดีที่ผู้เยาว์ร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก (คำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกเพียงแต่มีสิทธิหน้าที่ที่จะกระทำการอันจำเป็นเพื่อให้การเป็นไปตามพินัยกรรม และจัดการมรดกโดยทั่วไป หรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก ตาม ๑๗๑๙ เท่านั้น ไม่เกี่ยวด้วยสิทธิหน้าที่ในครอบครัวของผู้เยาว์โดยตรง 
๘.เมียใหม่ที่จดทะเบียนโดยชอบฟ้องเมียเก่าที่หย่ากันแล้วว่าฝ่าฝืนการใช้นามสกุลของสามีทำให้เมียใหม่ได้รับความเสียหาย  หลักสำคัญ ความแตกต่างระหว่างคำว่าคดีครอบครัวกับคดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัว (ตามหลักไม่ต้องห้ามอุทธรณ์)  ต่างกันตรงที่ คดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัวเกิดเมื่อมีความสัมพันธ์ในทางครอบครัวระหว่างสามีภริยา หรือบิดามารดากับบุตร (ดังนั้นไม่รวมการหมั้นอันเป็นขั้นตอนก่อนการเป็นครอบครัว) และ ฟ้องให้จำเลยชำระค่าเลี้ยงดูตามสัญญาที่โจทก์ทำไว้กับจำเลย เป็นคดีครอบครัวแต่ไม่เป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัว

มาตรา๕

มาตรา คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ให้ถืออายุเด็กหรือเยาวชนนั้นใน[1]วันที่การกระทำความผิดได้เกิดขึ้น






[1] หมายถึง วันที่เด็กหรือเยาวชนนั้นได้เริ่มลงมือกระทำการที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นการกระทำความผิดอาญา ๓๓๓๗/๔๓